เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา 2/2556 Topic:หน่วยเศรษฐกิจโลกอนาคต
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
1. เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภคการใช้ทรัพยากร ที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า
รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ
2. เข้าใจระบบและสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก


Assessment


เศรษฐกิจโลกในอนาคต


ข้อดีของการทำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบใหม่
ครู
นักเรียน
- คุณครูมีเวลาในการวางแผนหน่วยการเรียนรู้และกิจกรรมล่วงหน้า




- คุณครูได้เรียนรู้เรื่องที่ไม่เคยรู้ไปพร้อมกับนักเรียน เช่น การหล่อเทียนพรรษา  การทำกรอบรูป  การทำขนมโดยผลิตภัณฑ์วัสดุธรรมชาติ






- ภาระงานเอกสาร (การเขียนแผนการจัดกิจกรรม) ไม่ยุ่งยากมากทำให้คุณครูมีเวลาในการเตรียมสื่อการเรียนการสอนให้มีคุณภาพได้
- จากหน่วยการเรียนรู้ที่คุณครูวางแผนไว้นักเรียนได้รับประโยชน์ที่จำเป็นและสำคัญในการดำรงชีวิต เช่น รู้จักเลือกวัสดุจากธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ได้
- นักเรียนได้ปะทะกับปัญหาจริงด้วยการลงมือปฏิบัติ สังเกต ด้วยตนเอง ทำให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องความรู้ที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 เช่น ด้านเศรษฐศาสตร์ ความคุ้มทุน คุ้มค่าในการจัดหาอุปกรณ์มาทำเสื้อชูชีพ ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ความปลอดภัยในการใช้อุปกรณ์ในการทำงานและรักษาความสมดุลของระบบนิเวศในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้  

- นักเรียนได้ฝึกฝนและพัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 เช่น ทักษะชีวิตจากการลงมือคิด ทำนวัตกรรมของตนเอง ทักษะการแก้ปัญหาจากความผิดพลาดที่เกิดขึ้นระหว่างการเรียนรู้






ปัญหา/อุปสรรคที่พบ
ครู
นักเรียน
- ปัญหาเกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้ที่คุณครูวางแผนไว้มีเยอะระยะเวลาในการเรียนรู้ไม่เพียงพอในการแก้ปัญหา


- พัฒนาการการเรียนรู้ของพี่ป.2 แต่ละคนมีความแตกต่างกัน คุณครูต้องใช้เวลากับนักเรียนส่วนหนึ่งในการแนะนำให้นักเรียนเข้าใจทำให้ใช้เวลาในการทำงานนาน

- ภาระงานด้านการประเมินเยอะมากขึ้นครูไม่สามารถประเมินได้ทันทีหลังจากที่ชิ้นงานเสร็จ

- การประเมินต้องใช้วิจารณญาณมากในการให้คะแนน เพราะยากในการจับ Out come กับตัวชี้วัดของแต่ละวิชา

- หน่วยการเรียนรู้ไม่ได้มาจากความชอบ/สนใจ ของนักเรียนแต่ละคนจริงๆ ทำให้บางช่วงเวลานักเรียนไม่รู้สึกร่วมกับปัญหานั้นจริง


- ในช่วงวัยของนักเรียนความสนใจในเรื่องต่างๆอาจมีระยะเวลาไม่นานหากทำเรื่องใดเรื่องหนึ่งเกินสองสัปดาห์ทำให้เด็กๆรู้สึกเบื่อได้



- ชิ้นงานไม่เป็นรูปเป็นร่างที่ทนทานแข็งแรงเนื่องจากทักษะการทำงานของเด็กๆ เช่น การใช้กรรไกร การเย็บ การประกอบชิ้นงาน ยังต้องอาศัยการเจริญเติบโตของช่วง



แนวทางการประเมินโครงงาน Problem Based Learning

โรงเรียนบ้านปะทาย       สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกาศรีสะเกษ เขต 4

ประจำปีการศึกษา 2556 

 

               โรงเรียนบ้านปะทาย ได้จัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ  โดยใช้ปัญหาเป็นฐานการเรียนรู้(Problem Based Learning) ด้วยการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในทุกลุ่มสาระ เพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21 การประเมินผลการเรียนของแต่ละกลุ่มสาระ/วิชา   มีแนวทางตามรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. กลุ่มสาระ/วิชาที่จัดทำหน่วยแบบบูรณาการ  มี 9 กลุ่มสาระ/วิชา ดังนี้ 

               1) สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

               2) ประวัติศาสตร์

               3) วิทยาศาสตร์

               4) การงานอาชีพและเทคโนโลยี

               5) สุขศึกษาและพละศึกษา

               6) ภาษาไทย

               7) คณิตศาสตร์

               8) ภาษาอังกฤษ

               9) ศิลปะ

2.  การจัดทำผังความคิด (Web) เพื่อเชื่อมโยงกับเป้าหมายระดับชั้น และวิเคราะห์ตัวชี้วัดของหน่วยให้สอดคล้องกับมาตรฐานของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านปะทาย

               ครูเชื่อมโยงหน่วยกับเป้าหมายระดับชั้น และกำหนดตัวชี้วัดตามมาตรฐานของหลักสูตรแกนกลาง มีวัตถุประสงค์เพื่อ

               1) เพื่อให้ครูได้ทราบว่าหน่วยที่จะสอนมีความสัมพันธ์กับเป้าหมายระดับชั้นใน 9 สาระ/วิชาใดบ้าง
               2) เพื่อให้ครูกำหนดมาตรฐานและตัวชี้วัดที่จะต้องผ่านในหลักสูตรการศึกษาแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ในการจัดการเรียนรู้หน่วยโครงงานที่ผู้เรียนจะเรียนรู้ ซึ่งครูจะกำหนดตัวชี้วัดใน 6 กลุ่มสาระ/วิชา  คือ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การงานอาชีพและเทคโนโลยี สุขศึกษาและพละศึกษา และศิลปะ ทั้งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการประเมินและการให้ผลการเรียน

               3) เพื่อให้ครูได้ออกแบบกิจกรรมการสอนทั้ง10 สัปดาห์ ให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดแต่ละกลุ่มสาระ/วิชา ที่กำหนดไว้
 3.  แนวทางการประเมิน  ใช้หลักการประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment)

               โรงเรียนใช้หลักการประเมินตามสภาพจริง โดยใช้วิธีการประเมินที่หลากหลาย เช่น การประเมินจากชิ้นงานหรือภาระงานที่เป็นหลักฐาน/ร่องรอย ว่านักเรียนบรรลุมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดในหน่วยการเรียนรู้นั้นๆ ซึ่งชิ้นงาน/ภาระงาน อาจเกิดจากครูผู้สอนกำหนดให้ หรืออาจให้ผู้เรียนร่วมกัน ซึ่งจะประเมินด้วยความรู้ ทักษะและคุณลักษณะ เครื่องมือในการประเมินใช้เกณฑ์ Rubric ดังรายละเอียดต่อไปนี้
               3.1 ประเมินจากชิ้นงานที่ผู้เรียนได้แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่แสดงว่าเข้าใจดังนี้
                              3.1.1 ชิ้นงาน  ได้แก่
                                             1.1  งานเขียน เช่น เรียนความ จดหมาย โคลงกลอน การบรรยาย การเขียนตอบ ฯลฯ
                                             1.2 ภาพ/แผนภูมิ เช่น นิทาน การ์ตูนช่อง Mind map แผนผัง แผนภูมิ วาดภาพ ชาร์ต กราฟ ตาราง ฯลฯ
                                             1.3 สิ่งประดิษฐ์ เช่น งานประดิษฐ์ งานแสดงนิทรรศการ หุ่นจำลอง ฯลฯ
               3.2 ภาระงาน ได้แก่ การพูด/การนำเสนอปากเปล่า เช่น การท่อง(บทเพลง บทกลอน กวี อาขยาน) การอ่าน กล่าวรายงาน โต้วาที ร้องเพลง สัมภาษณ์ บทบาทสมมติ เล่นดนตรี การละคร การเคลื่อนไหวร่างกาย ฯลฯ
****งานที่มีลักษณะผสมผสานชิ้นงาน/ภาระงาน ได้แก่ การทดลอง การสาธิต ละคร วีดีดทัศน์ ฯลฯ
              3.3 สัดส่วนน้ำหนักคะแนน (100) 

ด้านความรู้                         ทักษะ                        ด้านคุณลักษณะ


30                                 40                                     30

                3.4 เกณฑ์การประเมิน (Rubrics)

1. ด้านความรู้
 
ความรู้
ระดับคุณภาพ
1
2
3
4
แก่นของเรื่อง
1. ตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนรู้
1. ตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนรู้
2. แสดงออกว่าเข้าใจในประเด็นที่หลากหลาย เช่น การอธิบาย การให้เหตุผลประกอบ
 
1. ตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนรู้
2. แสดงออกว่าเข้าใจในประเด็นที่หลากหลาย เช่น การอธิบาย การให้เหตุผลประกอบ
3. แสดงออกถึงวิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลาย ผ่านชิ้นงานที่หลากหลายและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
1. ตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนรู้
2. แสดงออกว่าเข้าใจในประเด็นที่หลากหลาย เช่น การอธิบาย การให้เหตุผลประกอบ
3. แสดงออกถึงวิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลาย ผ่านชิ้นงานที่หลากหลายและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
4. เข้าใจและอธิบายเป้าหมายหลักของเรื่องที่เรียนรู้ผ่านชิ้นงาน ภาระงานที่หลากหลาย และกระบวนการคิดเชิงอนาคต
ความรู้ที่จำเป็น(ทักษะศตวรรษที่ 21)
1. การประกอบการเศรษฐศาสตร์
มองเห็นภาพหรือเป้าหมายของชิ้นงานต่อทรัพยากรที่มีอยู่
ใช้ทรัพยากรที่มี(ต่อภาระงาน/ชิ้นงาน)เพื่อให้เกิดชิ้นงานอย่างคุ้มค่า
วิเคราะห์ สังเคราะห์ เป้าหมาย วางแผนการทำงานได้อย่างเป็นระบบ
ร่วมมือกับผู้อื่นเพื่อกำหนดเป้าหมาย วางแผนและปฏิบัติงานเพื่อส่วนรวม
2. สิ่งแวดล้อมและทรัพยากร
ใช้ทรัพยากรได้เหมาะสมกับชิ้นงานและภาระงาน
ใช้ทรัพยากรได้เหมาะสมกับชิ้นงาน/ภาระงาน ได้อย่างคุ้มค่า
- ใช้ทรัพยากรได้เหมาะสมกับชิ้นงานและภาระงาน
- ชิ้นงานและภาระงานมีคุณภาพ
วางแผนการทำงานได้อย่างเป็นระบบกับทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่

ความรู้
ระดับคุณภาพ
1
2
3
4
3. ความเป็นพลเมือง วัฒนธรรมประเพณี
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง
- รับผิดชอบต่อตนเอง
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง ต่อครอบครัว ชุมชน และสังคม
- รับผิดชอบต่อตนเอง และสิ่งอื่นๆ
- เคารพตนเองและผู้อื่น
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง ต่อครอบครัว ชุมชน และสังคม
- รับผิดชอบต่อตนเอง และสิ่งอื่นๆ
- เคารพตนเองและผู้อื่น
- มีเป้าหมายที่ดีงามต่อตนเอง
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง ต่อครอบครัว ชุมชน และสังคม
- รับผิดชอบต่อตนเอง และสิ่งอื่นๆ
- เคารพตนเองและผู้อื่น
- มีเป้าหมายที่ดีงามต่อตนเองและสิ่งอื่น
- สืบสาน ถ่ายทอดประเพณีวัฒนธรรมขิงตนเอง
- มีความพอดี พอใจในการดำรงตนในสังคม
สุขภาพ
มีทักษะพื้นฐานในการดูแลตนเอง
(กิจวัตรประจำวัน)
มีทักษะขั้นพื้นฐานในการดูแลตนเอง สามารถเลือกสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต (เลือกอุปกรณ์เหมาะกับงาน ดูแลความปลอดภัยขณะทำงาน กินอาหารที่มีประโยชน์ เลือกใช้สื่อเหมาะสม)
มีทักษะขั้นพื้นฐานในการดูแลตนเอง สามารถเลือกสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต รวมทั้งสามารถหาแนวทางป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของตนเองและผู้อื่น
- ผลิตหรือเลือกสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
- ใช้ความสามารถที่มีอยู่ได้อย่างเต็มศักยภาพ
- รูเท่าทันและรู้จักป้องกันรักษาตนเองให้ปลอดภัยจากสิ่งต่างๆ
- มีวิจารณญาณในการบริโภคสิ่งต่างๆ เช่น อาหาร สื่อ
- ดูแลรักษาให้มีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง
- เกิดเจตจำนงที่ดีต่อการใช้ชีวิต

2. ด้านทักษะ

ทักษะ
ระดับคุณภาพ
1
2
3
4
1. ทักษะชีวิต
การอยู่ร่วมกับผู้อื่น มีพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น ประกอบอาหาร ดูแลสุขภาพ
- การอยู่ร่วมกับผู้อื่น
- การจัดการความขัดแย้ง การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ
- การอยู่ร่วมกับผู้อื่น
- การจัดการความขัดแย้ง
- คิด ทำ เลือกใช้ชีวิตได้อย่างมีวิจารณญาณ
ใช้ชีวิตอย่างมีความหมายตามแบบฉบับของแต่ละบุคคล
2. ทักษะการเรียนรู้
มีทักษะการได้มาซึ่งข้อมูล
(สืบค้นผ่านการ ฟัง คิด ทดลอง สำรวจ ฯลฯ)
- มีทักษะการได้มาซึ่งข้อมูล
- ประมวลผล (การวิเคราะห์ สังเคราะห์ จัดกระทำ แปรผล)
- การได้มาซึ่งข้อมูล
- ประมวลผล
- นำไปใช้
- การได้มาซึ่งข้อมูล
- ประมวลผล
- นำไปใช้
- สร้างสรรค์สิ่งใหม่
3. ทักษะการแก้ปัญหา
มีเจตจำนงที่ดีต่อการแก้ปัญหา เชื่อว่าปัญหาทุกอย่างมีทางแก้ไข
- มีเจตจำนงที่ดีต่อการแก้ปัญหา เชื่อว่าปัญหาทุกอย่างมีทางแก้ไข
- รวบรวมข้อมูลต่างๆ จัดระเบียบ หาหาความสัมพันธ์เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องต่อปัญหา หรือเหตุการณ์นั้นๆ
มีทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างสรรค์ อย่างเต็มที่ เพื่อหาวิธีที่มีความแตกต่างและหลากหลายในการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณต่อปัญหาหรือเหตุการณ์นั้นๆ
- เลือกวิธีที่เหมาะสม วางแผนการแก้ปัญหา ติดตามประเมิน และสะท้อนผลที่เกิดขึ้น

ทักษะ
ระดับคุณภาพ
1
2
3
4
4. ทักษะ ICT
อธิบายที่มาของข้อมูลจากแหล่งที่หลากหลาย
- อธิบายที่มาของข้อมูลจากแหล่งที่หลากหลาย
- ใช้คำ วลี ประโยคในการสืบค้น ตรงตามประเด็น
- อธิบายที่มาของข้อมูลจากแหล่งที่หลากหลาย
- ใช้คำ วลี ประโยคในการสืบค้น ตรงตามประเด็น
- อธิบายการดูแลรักษาสื่อ ICTให้ใช้งานได้คุ้มค่า
- อธิบายที่มาของข้อมูลจากแหล่งที่หลากหลาย
- ใช้คำ วลี ประโยคในการสืบค้น ตรงตามประเด็น
- อธิบายการดูแลรักษาสื่อ ICTให้ใช้งานได้คุ้มค่า
- เลือกใช้สื่อ ICT ได้เหมาะสมกับภาระงาน
5. ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สนใจการเรียนรู้ ภาระงาน/ชิ้นงาน หน้าที่ที่ได้รับ มอบหมาย
- สนใจการเรียนรู้ ภาระงาน/ชิ้นงาน หน้าที่ที่ได้รับ มอบหมาย
- จดจ่อ ติดตามภาระงานชิ้นงานอย่างสม่ำเสมอ
- สนใจการเรียนรู้ ภาระงาน/ชิ้นงาน หน้าที่ที่ได้รับ มอบหมาย
- จดจ่อ ติดตามภาระงานชิ้นงานอย่างสม่ำเสมอ
- ทำภาระงาน/หน้าที่ได้รับมอบหมายจนบรรลุผล
- สนใจการเรียนรู้ ภาระงาน/ชิ้นงาน หน้าที่ที่ได้รับ มอบหมาย
- จดจ่อ ติดตามภาระงานชิ้นงานอย่างสม่ำเสมอ
- ทำภาระงาน/หน้าที่ได้รับมอบหมายจนบรรลุผล
- ประยุกต์ และนำไปใช้จากสิ่งที่เรียนรู้ และคิดริเริ่มวิธีการ แนวทางใหม่ๆในการทำชิ้นงาน ภาระงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. ด้านคุณลักษณะ

คุณลักษณะ
ระดับคุณภาพ
1
2
3
4
รู้เคารพ
แสดงออกถึงความสนใจต่อกิจกรรมหรือบุคคลและสิ่งต่างๆ
แสดงออกถึงการฟังอย่างตั้งใจและมีเป้าหมาย
แสดงออกถึงการยอมรับในความคิดเห็นที่แตกต่าง ของสังคม
แสดงออกถึงการเห็นคุณค่าของสิ่งที่ดีงาม สามารถนำมาปรับใช้ให้เกิดคุณค่าทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
สร้างสรรค์
ชิ้นงาน/ภาระงาน  ไม่มีความแปลกใหม่ ยังซ้ำกับผู้อื่น สิ่งอื่นเป็นส่วนมาก
ลอกเลียนแบบธรรมชาติและสิ่งที่ผู้อื่นทำไว้แล้ว
แปลกใหม่แต่คิดดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่ และประยุกต์เป็นสิ่งใหม่
มีความแปลกใหม่ ไม่ซ้ำแบบ ใครสร้างสิ่งใหม่ที่มีคุณค่าต่อตัวเองและผู้อื่น
เจตจำนง
เข้าร่วมกิจกรรมแต่ไม่ตั้งใจทำงานไม่เสร็จทันเวลา ไม่เกิดเจตจำนงด้วยตนเอง
มีเจตจำนงในการทำงานและร่วมกิจกรรม แต่ครูยังต้องคอยนำและกระตุ้นอยู่ในบางครั้ง
แสดงออกถึงเจตจำนงและมีความตั้งใจในการทำงาน ชิ้นงาน/ภาระงานสำเร็จและมีความหมาย
- แสดงออกถึงเจตจำนงและมีความตั้งใจในการทำงาน ชิ้นงาน/ภาระงานสำเร็จและมีความหมาย
- เห็นคุณค่า ความหมายของสิ่งที่ทำ และสิ่งที่เป็นอยู่

 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น